1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม จิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรม
2. ทฤษฎีปัญญานิยม พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจมนุษย์ การแบ่งความรู้ออกเป็น 3 ลักษณะคือ
ความรู้ในลักษณะเป็นขั้นตอน
ความรู้ในลักษณะการอธิบาย
ความรู้ในลักษณะเงื่อนไข
ซึ่งความรู้ 2 ประเภทหลังนี้ ไม่ต้องการลำดับการเรียนรู้ที่ตายตัว
3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ โครงสร้างภายในมีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ ๆ ที่เพิ่งได้รับนั้นไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้ที่มีอยู่เดิม
พื้นฐานทางจิตวิทยา
1. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมเชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์
2. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
2.1 แรงขับ หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน
2.2 สิ่งเร้า ความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน
2.3 การตอบสนอง เป็นการตอบสนองที่สังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้เรียน
2.4 การเสริมแรง เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนอง
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิมมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้เรียนรู้ เช่น การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็กบทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่า ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งพบว่า การเรียนแบบร่วมมือมีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน