วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 (ปรับปรุง 2545)




หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา
หมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา
หมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการการศึกษา
หมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
พรบ. ลิขสิทธ์ 2537

การละเมิดลิขสิทธิ์
1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง
2. เผยแพร่แก่สาธารณะ
3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน

บทลงโทษ

จะคุก 6 เดือน ถึง 4 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสน
ถึง 8 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


พรบ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 2544

ประเด็นสำคัญ
- ข้อความอิเล็กทรอนิกส์มีผลทางกฏหมาย
- การเก็บรักษาเอกสาร
- การรับรองเอกสาร
- การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ

พรบ. การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550
ลักษณะความผิด
1. กระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
2. กระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
3. กระทำต่อความมั่นคง
4. ใช้ชุดคำสั่งกระทำผิด
5. กระทำผิดของปู้ให้บริการ
6. เปิดเผยข้อมูลของหนักงานเจ้าหน้าที่





แนวโน้มการวิจัย เทคโนโลยีทางการศึกษา ไปทางไหน


ขอบเขตทางเทคโนโลยีทางการศึกษา





ขอบข่าย AECT





ขอบข่ายของศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์

ลำดับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย

1. เลือกปัญหา

2. ศึกษาปัญหา

3. ให้คำจำกัดอยู่

4. สร้างสมมุติฐาน

5. พิจารณาแหล่งที่มา

6. สร้างเครื่องมือที่ใช่วิจัย

7. เก็บรวบรวม

8. จัดกระทำและวิเคระห์ข้อมูล

9. ตีความ

10. เขียนรายงาน

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 8 แนวโน้มการวิจัยเทคโนโลยีทางการศึกษา

แนวโน้มการวิจัย เทคโนโลยีทางการศึกษา ไปทางไหน


ต้องยึดกรอบความเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ขอบเขตทางเทคโนโลยี
2.
หลักการทางเทคโนโลยี



ขอบเขตทางเทคโนโลยีทางการศึกษา





ขอบข่าย AECT








ขอบข่ายของศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์











ลำดับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย


1. เลือก

2. ศึกษา

3. จำกัดคำ

4. สมมุติฐาน

5. พิจารณา

6. สร้างเครื่องมือ

7. เรวบรวม

8. วิเคระห์ข้อมูล

9. ตีความ

10. เขียนรายงาน





หลักการทางเทคโนโลยีทางการศึกษา
เป็นนักออกแบบและจัดการเรียนรู้ ระหว่างคนสู่ตน โดยใช้ระบบออกแบบระบบการเรียนรู้

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 7 แนวจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อ

ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้

1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม จิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรม


2. ทฤษฎีปัญญานิยม พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจมนุษย์ การแบ่งความรู้ออกเป็น 3 ลักษณะคือ

ความรู้ในลักษณะเป็นขั้นตอน
ความรู้ในลักษณะการอธิบาย
ความรู้ในลักษณะเงื่อนไข

ซึ่งความรู้ 2 ประเภทหลังนี้ ไม่ต้องการลำดับการเรียนรู้ที่ตายตัว

3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ โครงสร้างภายในมีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ ๆ ที่เพิ่งได้รับนั้นไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้ที่มีอยู่เดิม


พื้นฐานทางจิตวิทยา

1. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมเชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์

2. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ

2.1 แรงขับ หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน


2.2 สิ่งเร้า ความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน

2.3 การตอบสนอง เป็นการตอบสนองที่สังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้เรียน


2.4 การเสริมแรง เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนอง

3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิมมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่


4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้เรียนรู้ เช่น การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็กบทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่า ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งพบว่า การเรียนแบบร่วมมือมีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 6 วัตถุกราฟิก

วัสดุใดๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่าย และอักษรข้อความรวมกันมี 6 ประเภท ดังนี้





1. แผนภูมิ ใช้แสดงความสัมพันธ์ ความต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ลักษณะสิ่งของและปรากฎการณ์ต่าง ๆ



แผนภูมิแบ่งได้ 9ประเภท ดังนี้

1.1 แผนภูมิแบบตาราง

1.2 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
1.3 แผนภูมิแบบต้นไม้
1.4 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
1.5 แผนภูมิแบบสายธาร
1.6 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
1.7 แผนภูมิแบบองค์การ
1.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
1.9 แผนภูมิแบบลำดับเรื่อง



2. แผนสถิติ ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตารางเปรียบเทียบความสัมพันธ์หรือ ความแตกต่างระหว่างจำนวนข้อมูล

แผนสถิติแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
2.1 แผนสถิติแบบเส้น
2.2 แผนสถิติแบบแท่ง
2.3 แผนสถิติแบบพื้นที่
2.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ
2.5 แผนสถิติแบบวงกลม








3.แผนภาพ ใช้แสดงความสัมพันธ์ ของโครงสร้าง หรือการทำงานที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยอาศัยภาพลายเส้น ตัวอักษร สัญลักษณ์ เพื่อแสดง ลักษณะเฉพาะ หรือโครงสร้างที่สำคัญเท่านั้น


แผนภาพแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

3.1 แผนภาพแบบลายเส้น
3.2 แผนภาพแบบรูปภาพ
3.3 แผนภาพแบบบล็อก
3.4 แผนภาพแบบผสม






4. ภาพโฆษณาเป็นทัศนวัสดุที่ใช้แสดงความคิดหรือข้อเท็จจริงด้วยสัญลักษณ์ โดยการออกแบบที่ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นในระยะเวลาอันสั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายจดจำได้อย่างรวดเร็ว







5. การ์ตูน ภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นแนวความคิดผู้เขียนเพื่อจูงใจ ให้แนวความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน

การ์ตูนแบ่งได้ 6 ประเภท

5.1 การ์ตูนการเมือง
5.2 การ์ตูนเรื่อง
5.3 การ์ตูนประกอบเรื่อง
5.4 การ์ตูนโฆษณา
5.5 การ์ตูนภาพเดียวจบ
5.6 การ์ตูนแบบตอนสั้น



6. แผนที่และลูกโลก





- แผนที่ เป็นทัศนวัสดุที่แสดงทิศทาง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก โดยใช้ เส้น สี สัญลักษณ์ และการกำหนดมาตราส่วน
แผนที่แบ่งได้ 2 ลักษณะ

6.1 ลักษณะการใช้งาน เช่น แผนที่ตั้งโต๊ะ
6.2 ลักษณะเนื้อหา เช่น แผนที่ประวัติศาสตร์







- ลูกโลกเป็นวัสดุสามมิติประเภทหุ่นจำลองแบบย่อส่วนโดยย่อส่วนหรือลดขนาดของโลก

ลูกโลกแบ่งออก 4 ประเภท

6.1 ลูกโลกแสดงอาณาเขต
6.2 ลูกโลกแสดงลักษณะภูมิประเทศ
6.3 ลูกโลกแสดงลักษณะภูมิประเทศ และอาณาเขต
6.4 ลูกโลกแสดงเฉพาะโครงร่าง

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 การแบ่งประเภทของสื่อการสอน

เมื่อวันจันทร์ อาจารย์ได้พาพวเเร กลุ่ม 403 ไปชม สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ก่อนดีกว่า รู้สึกจะออกทะเลไปเยอะไปหน่อยมั้งเนี่ย เรา
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลอยู่ทางซ้ายมือ ก็คืออยู่ติดกันเลยนั้นแหล่ะครับ


ข้างหน้าจะเป็นวงเวียน ตรงกลางวงเวียนจะมีรูปโลมา2-3ตัวอยู่กับน้ำพุ เหมือนจะทำให้เหมือนกับว่าโลมากำลังเล่นน้ำประมาณนั้น ส่วนข้างๆวงเวียนทั้งซ้าย-ขวาก็จะเป็นที่จอดรถ

ภายในตึกก็จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ฝั่ง ฝั่ง
นึงจะเป็นไปดูพวกปลาของสถาบันที่เก็บไว้จะอยู่ทางขวามือซึ่งต้องเสียเงินในการเข้าไปดูด้วย

ส่วนอีกฝั่งเป็นที่เก็บกระดูกสัตว์น้ำประเภทต่างๆ ซึ่งสมัยผมเด็กก็ไม่กล้าขึ้นไปดูก็เลยไม่ค่อยรู้ว่ามีอะไรบ้าง



การแบ่งประเภทของสื่อการสอน แบ่งตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียนซึ่ง เดล ได้แบ่งเป็น 10ประเภท โดยยึดเอาความเป็นรุปธรรมและนามธรรมเป็นหลักและเรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมที่สุด เรียกว่า "กรวยประสบการณ์"




ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย
ประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประ
สบการณ์ทั้งปวงเพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง
จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้ จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน

ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ

ประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว

ขั้นที่ 4 การสาธิต
การอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น

ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่
การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน

ขั้นที่ 6 นิทรรศการ
การจัดแสดงสิ่งต่างๆ รมทั้งมีการส
าธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบ

ขั้นที่ 7 ภาพยนตร์ และโทรทัศน์
ผู้เรียนได้เรียนด้ว
ยการเห็นและการได้ยินเสียงเหตุการณ์ และเรื่องราวต่างๆ ไปพร้อมๆกัน

ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง
ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพขนิดโปร่งแสง สไลด์

ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์
มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น จำเป็นที่
ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน

ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์
ประสบการณ์สุดท้าย เป็นนามธรรม
ที่สุด

วัสดุกราฟิก
ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด มี 2 ประเภท ได้แก่ วัตถุกราฟิก 2 มิติ และวัตถุกราฟิก 3 มิติ

ประเภทของสื่อวัสดุ
1. สื่อวัสดุกราฟิก เป็นวัสดุ 2 มิติรูปร่างแบน เช่น รูปภาพ สัญลักษณ์
2. สื่อวัสดุ 3 มิติ เป็
นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งแสดงด้วยตังเอง เช่น หุ่นจำลอง
3. สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อ
ที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เทป แผ่นซีดี

สื่อวัสดุกราฟิก
1. วัสดุกราฟิก ได้แก่ ภาพเขียน ภาพสี
2. คุณค่าของวัสดุกราฟิก เช่น ราคาถูก ครูผลิตเองได้
3. ประโยชน์ข
องวัสดุกราฟิก เข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4. ลักษณะของวัตถุกราฟิกที่ดี ตรงกับเนื้อหา รูปแบบง่าย ไม่ยุ่งยาก
5. การออกแบบวัสดุกราฟิก เหมาะสมกับผู้เรียน ตรงตามเนื้อหา
6. ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุก
ราฟิก แสดงเนื้อหาให้เข้าใจง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ ข้อจำกัด ใช้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก
7. ประเภทของวัตถุกราฟิก เช่น แผนภูมิ




สื่อวัสดุ 3 มิติ
รูปทรงประกอบด้วยขนาดทั้ง 3 ทิศทาง คือ กว้าง ยาว หนา นูน บางอย่างเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น บางอย่างเป็นสิ่งที่อยู่โดยธรรมชาติ
ประเภทของวัสดุ 3 มิติ เช่น หุ่นจำลอง ป้ายนิเทศ กระบะทราย

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4 องค์ประกอบของการสื่อสาร


องค์ประกอบของการสื่อสาร
อาจารย์ อุทิศ บำรุงชีพได้ อธิบายถึงองค์ประกอบของการสื่อสาร มีอยู่ 6 ข้อ ดังนี้
1.ผู้ส่ง(Sender) คือ ผู้นำข่าวสารเรื่องราวเพื่อส่งไปยังผู้รับ
2.เนื้อหา(Message) คือ สารที่ส่งออกมาเพื่อให้ผู้รับรับข้อมูล
3.ช่องทางในการนำสาร(Channel) คือ ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4.ผู้รับ(Receiver) คือ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา
5.ผล(Effect) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ
6.ผลย้อนกลับ(Feed Back) คือ สิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่ง

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 พัฒนาสมองด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว๊บบล๊อก

นิยามความหมายของ Weblog
Blog เป็นคำที่เรียกย่อมาจากศัพท์คำว่า Weblog หรือ Web Blog เป็นคำที่ใช้อธิบายลักษณะของการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารหรือสารสนเทศรูปแบบต่างๆ ที่ส่งเข้า(Input)เพื่อการจัดเก็บ(Store)และค้นคืน(forward)ได้ในระบบเว็ปไซต์เป็นระยะๆ ซึ่งโดยปกติจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบการปรับปรุงและนำเสนอสาระเนื้อหาต่างๆที่ทันต่อเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกับการเขียนบันทึกประจำวันส่วนตัว ที่เป็นบันทึกจากประสบการณ์ ความรู้หรือการเล่าเรื่องที่เป็นสาระใดๆ ทั้งที่เป็นประเด็นส่วนตัว ประเด็นด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แล้วนำเสนอขึ้นเผยแพร่ไว้เป็นองค์ความรู้ หรือนำเสนอเป็นประเด็น แง่คิด คำคมและหรือตั้งเป็นประเด็นให้ผู้อ่านท่านอื่นๆที่สนใจได้เข้ามามีส่วนร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นหรือให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเขียนร่วม ร่วมเชื่อมโยงอ้างอิงไปใช้ได้ผ่านทางเว็บไซต์
ที่มาhttp://chandraonline.chandra.ac.th/chandrablog/?tag=%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81

ประโยชน์ของWeblog
1.สามารถเผยแพร่บทความ หรือผลงานต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้อ่านและติดตาม
2.เป็นแหล่งในการค้นคว้าและเผยแพร่ข่าวสารของคนในสังคมโลกไซเบอร์
3.เป็นแหล่งรวมของการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม การเรียน หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น
4.เป็นศูนย์รวมของคนทุกเพศ ทุกวัย ในการแสดงออกในสิ่งที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถ
5.เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นต่างๆ
6.ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร

ความหมายของนวัตกรรม เป้าหมายของนวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย

คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator)
ที่มาhttp://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138

เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
2. เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้
3. เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น
ที่มาhttp://portal.in.th/inno-tang/pages/202/


ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
ทำให้ได้รู้ถึงวิธีการทำเว๊บบล๊อก และได้สัมผัสถึงการสร้างเว๊บบล๊อกที่เป็นของตัวเอง

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายขอเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยี(วิธีการ)+โลยี(วิทยา) หมายถึง สาศตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สุงขึ้นเทคโนโลยีการสึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการคือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
ที่มา http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138

พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
การพัฒนาการการศึกษาที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการศึกษาในอดีต เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้คือ

1) ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกจนถึงปี ค.ศ.1700การศึกษาช่วงเวลาดังกล่าวมีการพัฒนาการที่ช้ามาก การจัดการเรียนการสอนอยู่ในกลุ่มคนเล็ก ๆ การสื่อสารยังไม่เจริญ การจัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษามีดังนี้
1. เทคโนโลยีการศึกษาของกลุ่มโซฟิสต์ในตอนปลายของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชนั้น มีกลุ่ม นักการศึกษากลุ่มเล็ก ๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นครูรับจ้างสอนตามบ้านในกรุงเอเธนส์ กรีกโบราณ และเป็นที่รู้จัก ในนามของกลุ่ม Elder Sophist คำว่า Sophist หรือ Sophistes ในยุคนั้น (450- 350 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้รู้ ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้รู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่ 5 คน คือ โปรตากอรัส, จอจิแอส, โปรดิคอส, ฮิปเปียส และทราซีมาคัส ซึ่งบางทีอาจจะเรียกได้ว่าเป็นนักเทคโนโลยีทางการศึกษากลุ่มแรกก็ได้

รูปแบบการสอนของกลุ่มโซฟิสต์มี 3 ขั้นตอนคือ
- เตรียมคำบรรยายอย่างละเอียด
- เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเสนอแนะให้บรรยายในสิ่งที่เขาต้องการรู้
- บรรยายตามความต้องการของผู้บรรยายหรือผู้ฟัง
หลักการนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพูดในที่สาธารณะ (Public Lecture) และนอกจากนั้นกลุ่มโซฟิสต์ยังได้ใช้ระบบการพบปะสนทนากับผู้เรียน(Tutorial System) เพื่อสร้างสัมพันธ์กับ ผู้เรียนด้วย ลักษณะการแบบนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มของการสอนแบบมวลชน (Mass Instruction) ได้เช่นกัน

2.เทคโนโลยีการศึกษาของโสเครติส (ค.ศ.399-470)
โสเครตีส เพลโตและเซโนฟอนลูกศิษย์ของเขาได้ทำการบันทึกวิธีการสอนของเขาไว้ วิธีการของ โสเครติสแตกต่างไปจากวิธีการของกลุ่มโซฟิสต์ที่ได้กล่าวถึงมาแล้วมาก วิธีการสอนของโสเครติส ที่อธิบายไว้ใน Plasto's Meno นั้น มุ่งที่จะสอนให้ผู้เรียนเสาะแสวงหรือสืบเสาะหาความรู้ที่เหมาะสมเอง จากการป้อนคำถามต่าง ๆ ที่เป็นการชี้แนะแนวทางให้ผู้ตอบได้ข้อคิด วิธีการของ โสเครติสนี้อาจจะเทียบได้กับวิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)

3. เทคโนโลยีการศึกษาของอเบลาร์ด
ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ยุโรปเริ่มตื่นตัวในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบมีสถานศึกษาหรือโรงเรียน ซึ่งนับว่าเป็นวิธีใหม่แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนถึงกับการให้สิทธิแก่ผู้สอนตั้งโรงเรียนในโบสถ์หรือวัดได้ ในบรรดาผู้สอนในโรงเรียนทั้งหมด อเบลาร์ด (ค.ศ.1079-1142) เป็นบุคคลตัวอย่างที่ดีคนหนึ่ง อเบลาร์ด สอนที่ Notre Dame ซึ่งเป็นโรงเรียนวัดในระหว่างปี ค.ศ.1108-1139 ต่อมาโรงเรียนนี้ได้ยกฐานะเป็น The University of Paris เมื่อ ค.ศ.1180 เขาได้ฝึกนักเรียนของเขา โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ตรรกศาสตร์ของอริสโตเติล ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ Sic et Non (Yes and No) อันเป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงวิธีสอนของเขา ซึ่งเขาให้แง่คิดและความรู้ ทั้งหลายแก่นักเรียนโดยการเสนอแนะว่าอะไรควร (Yes) และอะไรไม่ควร (No) บ้างเสร็จแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจและสรุปเลือกเองอย่างเสรีวิธีสอนของอเบลาร์ด มีอิทธิพลโดยตรงต่อ Peter Lombard (ค.ศ.1100-1160) และ St. Thomas Aquinas (1225-1274) ซึ่งเขาทั้งสองได้นำแนวคิดของอเบลาร์ด มาปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอน โดยการระมัดระวังเทคนิคการใช้คำถามให้รัดกุมขึ้น

4.เทคโนโลยีทางการศึกษาของคอมินิอุส
Johann Amoss Cominius (1592-1670) เกิดในครอบครัวโปรเตสแตนท์ ฐานะปานกลางในโมราเวีย (ปัจจุบันอยู่ในเชคโกสโลวาเกีย) สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในเยอรมันนี คอมินิอุส ได้ใช้ชีวิต ในฐานะนักบวชและครูอยู่ในโปแลนด์ ฮังการี สวีเดน อังกฤษ และฮอลแลนด์ จนกระทั่งเกิดสงคราม 30 ปี (Thirty Years' War, 1618-1648) ระหว่างคาทอลิค และโปรเตสแตนท์ ชื่อเสียงของคอมินิอุส ในฐานะนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ ได้เริ่มต้นที่เมืองลิสซาในประเทศโปแลนด์ เมื่อ ปี ค.ศ.1627 ในขณะที่เขาเป็น นักบวชและครูอยู่ที่นั่น โดยการเขียนหนังสือสำคัญขึ้นมาหลายเล่ม และต่อมาเขาได้เป็นผู้ร่างหลักสูตร การศึกษาในฮอลแลนด์ และสวีเดน ตลอดจนสร้างโรงเรียนตัวอย่างขึ้นในฮังการีด้วย หนังสือ Great Didactic เป็นหนังสือสำคัญที่สุดเกี่ยวกับเทคนิคการสอนของ คอมินิอุส (แนวคิดเกี่ยวกับระบบการสอน ของคอมินิอุสได้เริ่มเกิดขึ้นที่เมือง Leszne ประเทศโปแลนด์ โดยเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเป็นภาษา Czech พิมพ์ครั้งแรกในเยอรมัน เมื่อปี ค.ศ.1633 และพิมพ์เป็นภาษาลาตินในปี ค.ศ.1657) จุดมุ่งหมายทางการศึกษาของคอมินิอุส คือ ความรู้ คุณธรรม และความเคร่งครัดในศาสนา เขาเชื่อมั่นว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำหรับเตรียมคนเพื่อดำรงชีพอยู่อย่างเป็นสุขมากกว่าที่จะให้การศึกษาเพื่อมีอาชีพหรือตำแหน่ง และนอกจากนั้น คอมินิอุสยังมุ่งหวังที่จะให้การศึกษาเพื่อสังคมมากกว่าที่จะเน้นเรื่องความสามารถเฉพาะ ดังนั้นเพื่อให้จุดหมายทางการศึกษาของเขาสัมฤทธิ์ผล คอมินิอุส จึงจัดระบบการศึกษาเป็นแบบเปิด สำหรับทุก ๆ คน นับตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย ในบรรดาหลักการสอนของคอมินิอุสทั้งหลาย พอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1.การสอนควรจะเป็นไปตามธรรมชาติ เนื้อหาวิชาควรจะเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนแต่ละคน
2.ควรสอนผู้เรียนตั้งแต่เยาว์วัย โดยให้เหมาะสมกับ อายุ ความสนใจ และสมรรถภาพของผู้เรียนแต่ละคน
3.จะสอนอะไรควรให้สอดคล้องกับชีวิตจริง และสอดแทรกค่านิยมบางอย่างให้แก่ผู้เรียนด้วย
4.ควรสอนจากง่ายไปหายาก
5.หนังสือและภาพที่ใช้ความสัมพันธ์กับการสอน
6.ลำดับการสอนที่เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ไม่ควรสอนภาษาต่างประเทศก่อนสอนภาษามาตุภูมิ
7.ควรอธิบายหลักการทั่วไปก่อนที่จะสรุปเป็นกฎ ไม่ควรให้จดจำอะไรโดยที่ยังไม่เข้าใจในสิ่งนั้น
8.การสอนเขียนและอ่าน ควรสอนร่วมกัน นั่นก็หมายความว่าเนื้อหาวิชาที่เรียนควรสัมพันธ์กันเท่าที่จะทำได้9.ควรเรียนรู้โดยผ่านทางประสาทสัมผัส โดยสร้างความสัมพันธ์กับคำ
10.ครูเป็นผู้สอนเนื้อหา และใช้ภาพประกอบเท่าที่ทำได้
11.สิ่งต่าง ๆ ที่จะสอนต้องสอนไปตามลำดับขั้นตอนและในการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ควรให้มากกว่าหนึ่งอย่าง
12.ไม่ควรมีการลงโทษเฆี่ยนตีถ้าผู้เรียนประสบความล้มเหลวในการเรียน
13.บรรยากาศในโรงเรียนต้องดี ประกอบด้วยของจริง รูปถ่าย และครูที่มี ใจโอบอ้อมอารี
จากหลักการสอนคอมินิอุสที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคอมินิอุส เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีการศึกษาและการสอนสมัยใหม่ ตัวอย่างหลักการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งของคอมินิอุส เราจะเห็นได้จากหนังสือ Orbus Pictus ของเขา หนังสือออบัส พิคตุส หรือโลกในรูปภาพ พิมพ์ที่เมือง Nurenberg เมื่อปี ค.ศ.1658 สำหรับเด็ก ๆ ที่เรียนลาตินและวิทยาศาสตร์ จัดว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรกที่มีภาพประกอบบทเรียนมากถึง 150 ภาพ โดยภาพหนึ่ง ๆ จะใช้สำหรับบทเรียนบทหนึ่งโดยเฉพาะ เนื้อหาในหนังสือนี้ได้แก่ พระเจ้า โลก อากาศ ต้นไม้ มนุษย์ ดอกไม้ พืชผัก โลหะ และนก เป็นต้น หนังสือ ออบัส พิคตุส เป็นที่นิยมใช้ติดต่อกันมาอีกหลายร้อยปีและปรากฏว่า เมื่อปี ค.ศ.1810 หนังสือนี้ยังมีการซื้อขายกันอยู่ในสหรัฐอเมริกา

2) พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1700-1900 (พ.ศ.2243-พ.ศ.2443)
ก่อนปี ค.ศ.1800 การเรียนการสอนในอเมริกาและยุโรป ไม่ว่าจะเป็นระดับประถมหรือมัธยมศึกษาต่างก็ใช้วิธีการคล้ายคลึงกัน คือ ครูจะสอนโดยการเรียกนักเรียนทีละคนหรือหลายคนมาที่โต๊ะของเขาเพื่อให้นักเรียนอ่านออกเสียงหรือท่องจำสิ่งต่าง ๆ ที่ครูกำหนดให้ วิธีการอื่น ๆ เช่น การพัฒนาความเข้าใจโดยการอภิปรายกลุ่มนั้น ไม่มีครูคนใดรู้จัก ดังนั้นเมื่อสอนเกี่ยวกับการเขียน ครูจะเขียนเป็นแบบแล้วให้นักเรียนลอกตามการสอนส่วนมาก จะเป็นไปอย่างผิวเผินและไม่มีประโยชน์ ช่วงเวลาการเรียนก็สั้น (ประมาณ 16 เดือน) ดังนั้นจึงมีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ออกจากโรงเรียนไป โดยที่อ่านออกเขียนได้เพียงเล็กน้อยและนอกจากนั้น ครูเองยังไม่กล้าที่จะจูงใจนักเรียนและควบคุมวินัยในชั้นด้วย ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการปรับปรุง ให้ดีขึ้น แต่ความขาดแคลนสถานที่เรียนเริ่มเป็นปัญหาสำคัญ ดังนั้น ปัญหาเรื่องประชากรอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้จึงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับประชาชนที่ยากจนในอเมริกาในยุคนั้น ประกอบกับในช่วงเวลานี้ มีการพัฒนาขยายงานด้านอุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานและบ้านเมืองมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการทางการศึกษาก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่วิธีการสอนแบบเก่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงได้เกิดระบบแลนคาสเตอร์ขึ้นมาในอเมริกา เพื่อจัดการศึกษาแบบมวลชน (Mass Education) ซึ่งเสนอวิธีการศึกษาแบบประหยัด

1 เทคโนโลยีการศึกษาของแลนตาสเตอร์
Joseph Lancaster (1778-1838) ได้ริเริ่มการสอนระบบพี่เลี้ยง (Monitor System) อันยังผลให้เขาประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาในยุคนั้น วิธีการของเขาก็คือ การจัดสภาพห้องเรียนและดำเนินการสอนแบบประหยัด รวมถึงการจัดระบบเนื้อหาวิชาที่เรียนโดยพิจารณาถึงระดับชั้น สำหรับการสอนนักเรียนเป็นชั้นหรือเป็นกลุ่ม แนวคิดของเขาได้รับอิทธิพลมาจากคอมินิอุส และวิธีการของพระเยซูคริสต์ จึงทำให้เขาศึกษาการเลือกใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอน วิธีการของเขารู้จักกันในนามของ Lancaster's Method และจัดว่าเป็นรากฐานสำคัญของระบบทฤษฎีการเรียนรู้อีกด้วย แนวคิดของเขานอกจากจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางแนวคิดของคอมินิอุสดังกล่าวมาแล้ว เขายังยอมรับแนวคิดของ John Locke ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในขณะนั้นด้วย

วิธีสอนของแลนคาสเตอร์ มีรายละเอียดที่สำคัญอยู่ 6 ประการ คือ
1.การสอนความจำด้วยการท่องจำเนื้อหา
2.การฝึกแบบมีพี่เลี้ยง
3.การควบคุม
4.การจัดกลุ่ม
5.การทดสอบ
6.การจัดดำเนินการหรือบริหาร

ภายใต้การจัดดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ครูคนหนึ่ง ๆ จะสามารถสอนกลุ่มหัวหน้านักเรียนได้ถึง 50 คน (หัวหน้านักเรียนคือพี่เลี้ยง) และหัวหน้านักเรียนแต่ละคนจะสามารถฝึกนักเรียนได้ 10 คน ดังนั้นครูคนหนึ่ง ๆ ก็จะสามารถสอนนักเรียนจำนวน 500 คนหรือมากกว่านั้นได้ในเวลาเดียวกัน วิธีนี้ได้ปฏิบัติ ต่อกันมา จนกระทั่งค้นพบวิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving) ในภายหลัง

2 เทคโนโลยีการศึกษาของเปสตาลอสซี
Johann Heinrich Pestalozzi (1746-1827) เกิดที่เมืองซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ชีวิตการศึกษาของเขาในเบื้องต้นนั้น มุ่งที่จะออกไปเป็นนักกฎหมายแต่ด้วยอิทธิพลของสังคมและความคิดทางการศึกษาของ Jean Jacgues Rousseau (1712-1778) เขาจึงเปลี่ยนวิถีทางชีวิต ไปศึกษาหลักการทางการศึกษาจากหนังสือ Emile ของรุสโซ เขาเริ่มการทดลองที่บ้านของเขาใกล้ ๆ กับหมู่บ้าน Birrfield (1774-1780) ต่อจากนั้นก็มาทำการทดลองต่อในโรงเรียนที่ Stanz (1798) Burgdorf (1799-1804) และ Yverdon (1805-1825) อันเป็นที่ที่เขาทำงานครั้งสำคัญที่สุด ทฤษฎีทางการศึกษาของเปสตาลอสซี เป็นที่รู้จักกันดีจากคำพูดของเขาเอง คือ "I wish to psychologize Instruction" ซึ่งหมายถึง การพยายามทำให้การสอนทั่วไปเข้ากันได้กับความเชื่อของเขาอย่างมีระเบียบและปรับปรุงพัฒนาไปด้วยกัน เขารู้สึกว่าศีลธรรม สติปัญญาและพลังงานทางกายภาพของผู้เรียนควรจะได้รับการคลี่คลายออกมา โดยอาศัยหลักธรรมชาติในการสร้างประสบการณ์อย่างเป็นขั้นตอน จากหลักการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เปสตาลอสซีเชื่อว่า กระบวนการสอนโดยการเพิ่มความรู้สึกต่อความรู้ในเรื่องความเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด นอกจากนั้น เปสตาลอสซี ยังคำนึงถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลอันจะมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย เปสตาลอสซี ได้เสนอแนะกระบวนการของการรับความรู้ของผู้เรียนเป็น 3 ขั้นตอน คือ

1.ให้รู้ในเรื่องส่วนประกอบของจำนวน (เลขคณิต)
2.ให้รู้ในเรื่องของรูปแบบ (Form) เช่น การวาด การเขียน เป็นต้น
3.ให้รู้จักชื่อ และภาษาที่ใช้

นอกจากนั้น เปสตาลอสซี ยังมีความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนการสอน พอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1.รากฐานสำคัญยิ่งของการให้ความรู้ก็คือ การหัดให้นักเรียนรู้จักใช้การสังเกต (Observation and Sense-Perception)
2.การเรียนภาษา ครูต้องพยายามให้นักเรียนใช้การสังเกตให้มากที่สุด นั่นคือ เมื่อเรียนถ้อยคำก็ต้องใช้คู่กับของจริงที่เขาใช้เรียกชื่อสิ่งนั้น
3.การสอนครูต้องเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วจึงเพิ่มความยากขึ้นไปตามลำดับ
4.เวลาเรียนต้องให้นักเรียนเรียนจริง ๆ อย่าเสียเวลาไปกับการวิพากษ์วิจารณ์ความรู้เหล่านั้น
5.ให้เวลาเพียงพอแก่นักเรียนแต่ละคน
6.ต้องยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
7.ต้องทำให้นักเรียนรู้สึกว่าโรงเรียนไม่ต่างไปจากที่บ้าน
แนวความคิดของเปสตาลอสซีนี้ นอกจากจะมีอิทธิพลในสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อวงการศึกษาในยุโรปด้วย โดยเฉพาะในประเทศเยอรมันนีนั้น ฟรอเบลเป็นบุคคลหนึ่งที่ยอมรับแนวคิดของเปสตาลอสซี

3 เทคโนโลยีทางการศึกษาของฟรอเบลFriedrich Wilhelm Froebel (1782-1852)
เป็นนักการศึกษา ซึ่งได้เจริญรอยตามความคิดเห็นของเปสตาลอสซี ฟรอเบล เกิดที่เมือง oberwcissbach ประเทศเยอรมันนี และได้ร่วมงานด้านการสอนกับเปสตาลอสซี ที่ฟรังเฟิท เขารู้สึกพอใจและสนใจมาก โดยเฉพาะการสอนเด็กเล็ก ทำให้ฟรอเบลมีความตั้งใจอันแรงกล้าที่จะปฏิวัติการศึกษาของเด็กเสียใหม่ จึงกลับไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เมื่อจบการศึกษาแล้วได้ออกมาตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นเป็นแห่งแรกที่เมืองแบลงเกนเบอร์ก (Blankenburg)ในปี ค.ศ. 1837 ฟรอเบลมีความเชื่อในเรื่องศาสนาเป็นพื้นฐาน เขาเห็นว่าการเกิดของแร่ธาตุก็ดี การเจริญเติบโตของต้นไม้ก็ดี ตลอดจนพัฒนาการของเด็กทั้งหลายนั้นล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากพระเจ้า ดังนั้นจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาก็คือการควบคุมดูแลเยาวชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่เท่านั้นเช่นเดียวกับจุดมุ่งหมายของคนทำสวนคือการควบคุมดูแลต้นไม้ต้นเล็ก ๆ ไปจนมันเจริญเติบโตออกดอกผลในที่สุด อย่างไรก็ตาม การควบคุมดูแล (Control) ตามแนวคิดของฟรอเบลนี้ ยังมีความหมายกว้างออกไปถึงการควบคุมพัฒนาการต่าง ๆ โดยให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับชีวิตจริงในฐานะที่เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย องค์ประกอบพื้นฐานในการให้การศึกษาแก่เด็กของฟรอเบล มีอยู่ 4 ประการคือ

1.ให้โอกาสผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างเสรี
2.ให้โอกาสผู้เรียนได้คิดสร้างสรรค์
3.ให้โอกาสผู้เรียนได้มีส่วนร่วม
4.ให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกทางกลไกหรือกายภาพ อันได้แก่ การเรียนโดยการกระทำ (To Learn a thing by doing not through verbal Communications alone)

วิธีสอนของฟรอเบลเน้นที่การสอนเด็กอนุบาล ดังนั้นการสอนจึงออกมาในรูปการเรียนปนเล่น ซึ่งมีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1.การเล่นเกมและร้องเพลง
2.การสร้าง
3.การให้สิ่งของและใช้งาน

การร้องเพลงและการเล่นเกม เป็นการสร้างกำลังให้เกิดขึ้นในเด็ก ส่วนการสร้างได้แก่ การวาดภาพ การตัดกระดาษ การทำหุ่น ฯลฯ เพื่อช่วยให้เกิดความพร้อมและคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ส่วนการให้สิ่งของและการให้งานนั้น เป็นขั้นสุดท้ายของฟรอเบล สำหรับการสอนเด็กเล็ก เช่น เริ่มจากการให้เล่นลูกบอล ต่อมาก็ให้วัตถุสามมิติรูปทรงต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้เริ่มคิดสรรค์สร้างตามจินตนาการของเขา

4 เทคโนโลยีการศึกษาของแฮร์บาร์ท
แฮร์บาร์ท เป็นนักการศึกษาคนหนึ่งที่สืบทอดเจตนารมย์ของคอมินิอุสและเปสตาลอสซีนักการศึกษาทั้งสอง และได้ชี้ให้เห็นแนวทางในการสร้างความคิดรวบยอดใหม่จากความคิดรวบยอดเดิม นอกจากนั้น แฮร์บาร์ทยังได้เน้นในเรื่องของจริยธรรม (Moral) โดยถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการศึกษาและเขาจะใช้อุปกรณ์ทางประวัติศาสตร์เพื่อให้การสอนบรรลุเป้าหมายข้างต้น ดังนี้จะเห็นว่าแนวคิดของเขาก็มีอิทธิพลแนวคิดของฟรอเบลแทรกอยู่ไม่น้อย

ทฤษฎีทางการศึกษาของแฮร์บาร์ท ค่อนข้างจะแตกต่างไปจากนักการศึกษา รุ่นก่อน ๆ กล่าวคือ แฮร์บาร์ทได้วางรากฐานเกี่ยวกับวิธีสอนของเขาโดยอาศัยระบบจิตวิทยาการเรียนรู้ นับได้ว่าเขาได้เป็นผู้ริเริ่มจิตวิทยาการเรียนรู้สมัยใหม่เป็นคนแรกที่สอดคล้องกับวิธีการของ Locke ที่เรียกว่า Tabula Rasa (Blank Tablet) เกี่ยวกับทฤษฎีทางจิต และได้สรุปลำดับขั้นสองการเรียนรู้ ไว้ 3 ประการ ดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยกิจกรรมทางวิถีประสาท (Sense Activity)
2. จัดรูปแบบแนวความคิด (Ideas) ที่ได้รับ
3. เกิดความคิดรวบยอดทางความคิดหรือเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

3.) เทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1900-ปัจจุบัน (พ.ศ.2443-ปัจจุบัน)
ใน ค.ศ. 1900 William James ได้เขียนหนังสือชื่อ Talks to Teacher on Psychology อันแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการสอนนั่นก็หมายความว่า ได้เริ่มมีผู้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสอนกันแล้ว และในปีเดียวกันนี้ John Dewey (1859-1952) ได้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสอน และทำให้ห้องเรียนเป็นห้องปฏิบัติการทดลองด้วย รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง คือ ค.ศ. 1900 Edward I. Thorndike (1874-1949) ได้เสนอวิชาการวัดผลการศึกษาเป็นวิชาหนึ่งในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและต่อมาได้กลายเป็นวิธีการวิจัยปัญหาต่าง ๆ ทางการสอนเป็นวิธีแรก ดังนั้น ธอร์นไดค์ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาการวัดผลการศึกษา G. Stanley Hall (1846-1924) ได้เขียนหนังสือชื่อ Adolescence (1904) นักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อ Alfred Binet (1857-1911) และ Theodore Simon ได้ร่วมกันเขียนหนังสือชื่อ A Method of Measuring The Intelligence of Yound Children ดังนั้นจะเห็นได้ว่า วิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมที่แท้ และทฤษฎีการเรียนรู้โดยเฉพาะได้เริ่มนำเข้ามาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางการสอนในช่วงนี้เอง

ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ปรากฏว่า ทฤษฎีทางการสอนของธอร์นไดค์ และดิ้วอี้ นั้นไม่สามารถจะได้ด้วยกันได้ เนื่องจากดิวอี้เน้นในเรื่องของการปฏิบัติ ซึ่งอาศัยพื้นฐานการสังเกตและการตั้งสมมติฐานแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ถึงแม้เขาจะย้ำให้มีการสอบถาม การทดสอบและการวิจารณ์อยู่บ้างก็ตามที ในทางตรงกันข้าม ธอร์นไดค์ กลับใช้การสังเกตและการสืบสวนเป็นหลักการสำคัญ ดังนั้นทฤษฎีของธอร์นไดค์จึงถูกนักการศึกษากลุ่มของดิวอี้ซึ่งเชื่อหลักเสรีประชาธิปไตยของการเรียนด้วยการปฏิบัติคัดค้าน ถึงแม้วิธีการของดิวอี้จะยังไม่ได้รับการทดสอบก็ตาม

1.เทคโนโลยีการศึกษาของธอร์นไดค์Edward L. Thorndike (1874-1949)
นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวอเมริกาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ มีชื่อว่า ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) จากการที่ธอร์นไดค์ ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรู้ของสัตว์ และต่อมาได้กลายมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทั่วไปโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในนามทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ในเรื่องนี้ นอกจากธอร์นไดค์จะได้ย้ำในเรื่องการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำแล้ว เขายังให้ความสำคัญของการให้รางวัลหรือการลงโทษ ความสำเร็จหรือความผิดหวังและความพอใจหรือความไม่พอใจแก่ผู้เรียนอย่างทัดเทียมกันด้วย

ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ได้เน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) เขาเชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการที่มนุษย์หรือสัตว์ได้เลือกเอาปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกต้องนั้นมาเชื่อมต่อ (Connect) เข้ากับสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม หรือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการสร้างสิ่งเชื่อมโยง (Bond) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้เกิดขึ้น ดังนั้นเราจึงเรียกทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ว่า ทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับตอบสนอง (S-R Bond Theory) หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Conectionism Theory)

จากการทดลองและแนวความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เขาได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎ อันถือว่าเป็นหลักการเบื้องต้นที่นำไปสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน กฎทั้ง 3 ได้แก่
1.กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ซึ่งเขาได้ชี้ให้เห็นว่า การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้การกระทำนั้น ๆ ถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง
2.กฎแห่งผล (The Law of Effect) เป็นกฎที่มีชื่อเสียงและได้รับความสนใจมากที่สุด ใจความสำคัญของกฎนี้ก็คือรางวัลหรือความสมหวัง จะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้นมากขึ้น แต่การทำโทษหรือความผิดหวังจะลดอาการแสดงพฤติกรรมนั้นลง
3.กฎแห่งความพร้อม (The Law of Readiness) กฎนี้หมายถึงความพร้อมของร่างกาย ในอันที่จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมา

2.เทคโนโลยีการศึกษาของดิวอี้
เทคโนโลยีการศึกษาและการสอนของ จอห์น ดิวอี้ มีความสำคัญต่อระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวความคิดในการแก้ปัญหา (Problem-Solving) ดิวอี้ได้ศึกษาเรื่องนี้กับ ฮอลล์ ที่มหาวิทยาลัย จอห์น ฮอบกิน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต หลังจากที่ดิวอี้ จบจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เขาได้สอนที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน มินิโซตา และชิคาโก จากนั้นเขาได้ไปสอนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี ค.ศ.1904 นักจิตวิทยาการเรียนรู้ของจอห์น ดิวอี้ ตรงกับข้ามกับ ธอร์นไดค์ ดิวอี้ เชื่อว่าสิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ดิวอี้ ได้โจมตีพวกมีความเชื่อในเรื่องมโนภาพแบบสะท้อนกลับ (The Reflect Arc Concept) ซึ่งยืนยันการเรียนรู้รวมเอาการมีผลกระทบต่อกัน ระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อมของเขาเข้าไว้ด้วยจากการทดลองของดิวอี้ที่มีต่อเทคโนโลยีการศึกษานั้น น่าจะได้แนะแนวความคิดของเขาที่เกี่ยวกับการสอน ซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์สำหรับดิวอี้ ควรคิดที่ให้ผลคุ้มค่าก็คือวิธีการไตร่ตรอง (Reflective Method) หรือการพิจารณาอย่างรอบคอบและแน่นอน เกี่ยวกับความเชื่อหรือแบบแผนของความรู้ที่เกิดขึ้น สาระของวิธีการแบบไตร่ตรองของดิวอี้ มีอยู่ในหนังสือชื่อ How We Think ซึ่งได้กล่าวถึงการไตร่ตรองในฐานะที่เป็นความเคลื่อนไหวทางจิตวิทยา โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้เรียนปะทะกับปัญหา เขาจะต้องรู้จุดมุ่งหมายบางอย่าง และรู้สึกถูกกีดกันจากอุปสรรคที่สอดแทรกเข้ามา ดังนั้นเขาจำเป็นต้องทำให้มีความต่อเนื่องกัน
2.หลังจากได้ปะทะกับปัญหา หรือรู้สึกว่าข้อมูลที่รู้มาขัดแย้งกัน เขาจะตั้งสมมติฐานขึ้นเพื่อกำหนดคำตอบลองดู ซึ่งอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ใช้ได้
3.บางครั้งภาวะการณ์ที่เป็นปัญหา ได้รับการตรวจสอบและสังเกตเพื่อเอาความและประสบการณ์ที่มีอยู่มาใช้เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ขั้นตอนต่าง ๆ ที่นำมาให้ต่อเนื่องกันเป็นกิจกรรมของผู้เรียน หรือจุดมุ่งหมายของผู้เรียน จะต้องได้รับการทำให้เห็นได้ชัดเจนเพียงพอ
4.ผู้เรียนต้องทดสอบสมมติฐานต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้น และพยายามพิสูจน์ผลที่ได้รับจากสมมติฐานนั้น
5.สุดท้ายผู้เรียนจะต้องสรุปให้ได้ ซึ่งจะรวมเอาทั้งการยอมรับ การขยายหรือการปฏิเสธสมมติฐานหรือมันอาจจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าหลักฐานที่เชื่อถือได้ ไม่อาจทำให้มีพื้นฐานสำหรับการกระทำ หรือไม่อาจจะทำให้ได้ข้อความ (Statement) ที่ยืนยันได้แน่นอน

3. เทคโนโลยีการศึกษามอนเตสซอรีMaria Montessori (1870-1952)
นักการศึกษาสตรีชาวอิตาลีผู้บุกเบิกเกี่ยวกับการสอนแบบ Nourishing สำเร็จการศึกษาทางการแพทย์จากมหาวิทยาลัยโรม แต่เพราะความสนใจในเรื่องพัฒนาการและกิจกรรมของเด็ก ทำให้เธอหันเหชีวิตจากงานด้านการแพทย์เข้ามาสู่การศึกษา เธอไปเป็นครูระหว่างปี ค.ศ.1899-1901ในช่วงนี้เธอได้ปรับปรุงเทคนิคการสอนทางจิตของเด็กที่พิการเพราะขาดแคลนอาหาร โดยอาศัยพื้นฐานทางวิธีการและอุปกรณ์ของ Seguin (เป็นนักเทคโนโลยีทางการศึกษาชาวฝรั่งเศสที่ศึกษาเกี่ยวกับเด็กพิการทางจิต เช่น Idiot เป็นต้น เขามีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1812-1880)

เมื่อมอนเตสซอรีเขียนหนังสือ "Scientific Pedagogy as Applied to Child Education in the Children's Houses" ออกพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ.1909 ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไป นักการศึกษาสำคัญ ๆ จากทั่วโลกไปสังเกตวิธีสอนที่โรงเรียนของเธอเป็นจำนวนมาก

แนวคิดพื้นฐานของวิธีสอนแบบมอนเตสซอรี เทคโนโลยีการศึกษาและการสอนของมอนเตสเซอรี มีลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1.การจัดกิจกรรมของโรงเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน
2.แบ่งเด็กให้มีโอกาสทำงานได้อย่างอิสระ โดยไม่ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนฝ่ายเดียว
3.เน้นในเรื่องลักษณะการแบ่งแยกระบบประสาทสัมผัส

หลักการพื้นฐานของวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี มีอยู่ 2 ประการคือ
1.ยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานอย่างมีอิสระ โดยไม่คำนึงถึงแต่เพียงเฉพาะในเรื่องของสภาวะทางกายภาพในห้องเรียนและบรรยากาศทางจิตวิทยาเท่านั้น
2.ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน สื่อการสอนและธรรมชาติของกระบวนการสอนด้วย

4.เทคโนโลยีการศึกษาของเลวิน
จากการศึกษาค้นคว้าทดลองของ Kurt Lewin ที่มหาวิทยาลัยแห่งเบอร์ลิน ประมาณปลายปี ค.ศ.1920 ทำให้เกิดหลักการทฤษฎีที่สำคัญขึ้นมาทฤษฎีหนึ่ง และถึงแม้ทฤษฎีนี้จะได้ทดลองปฏิบัติอย่างใกล้ชิดกับจิตวิทยาเกสตัลท์ ในกรุงเบอร์ลินก็ตาม แต่ทฤษฎีของเลวิน มีความสัมพันธ์กับนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ตามที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง

ทฤษฎีทั่ว ๆ ของเลวิน ถึงแม้การกล่าวถึงทฤษฎีทั่ว ๆ ไป ของเลวินจะไม่ใช่จุดมุ่งหมายของเราในการศึกษาเรื่องพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา แต่การได้ทราบถึงจุดเริ่มของการศึกษาค้นคว้าและทฤษฎีของเขา จะช่วยให้เราเข้าใจมูลฐานของการสร้างทฤษฎีการเรียนรู้ของเขาแจ่มแจ้งขึ้น ทฤษฎีของเลวินมีลักษณะคล้ายกับทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ ในแง่ที่ว่า เขาได้เน้นในเรื่องการจัดสถานการณ์เพื่อการตอบสนองในลักษณะรวมทั้งหมด (As a whole) ไม่ใช่การพิจารณาส่วนย่อยของสถานการณ์หรือสิ่งนั้น ๆ แต่ทฤษฎีของเลวินก็ต่างไปจากเกสตัลท์ในเรื่องเกี่ยวกับการจูงใจ โดยเขาได้เน้นในเรื่องเกี่ยวกับการจูงใจเป็นหลักการสำคัญ

Life Space หรือที่เราเรียกกันว่า อวกาศแห่งชีวิตตามแนวคิดของเลวินนั้น เขาใช้คำนี้ เพื่อต้องการหมายถึง อวกาศหรือห้วงแห่งชีวิตอันเป็นเสมือนโลกอีกโลกหนึ่งต่างหาก ซึ่งเป็นโลกทางความคิดหรือโลกของจิต (Rsychological World) ของแต่ละบุคคล อวกาศแห่งชีวิตจะมีอิทธิพลหรือความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของบุคคลแต่ละคน ตามแต่เขาจะมีอวกาศแห่งชีวิตอย่างไร

ส่วนความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ Topological ของเลวินนั้น เขาใช้เพื่ออธิบายโครงสร้างเกี่ยวกับการรับรู้และปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่ควรจะดำเนินการไปได้ของอวกาศแห่งชีวิตในลักษณะของย่าน (Regions) และอาณาเขตหรือขอบเขต (Boundaries) เช่น ในอวกาศแห่งชีวิตของคน ๆ หนึ่ง สมมติว่าเขากำลังคิดถึงเรื่องของ "การกินในตอนนี้เป็นเรื่องของย่าน (Regions) ความคิดเขาจะมีปฏิกิริยาในขอบเขต (Boundaries) ต่าง ๆ กันออกไปตาม แต่ว่าในขณะนั้น เขาหิวหรืออิ่ม เป็นต้น

5.ทฤษฎีการศึกษาของสกินเนอร์
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอาการกระทำ (Operant Conditioning) หรือพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ของ B.F. Skinner จัดว่าเป็นทฤษฎีที่เสริมต่อจากทฤษฎีจิตวิทยา S-R หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์และทฤษฎีพฤติกรรมของ Watson โดยรวมเอาแนวคิดของทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกัน กล่าวคือ เขามีความเห็นว่ามนุษย์เรานั้นมีลักษณะที่เป็นกลางและอยู่นิ่งเฉย (Man is neutral and passive) ดังนั้น พฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์จึงสามารถอธิบายได้ด้วยเรื่องของกลไก (Mechanistic) ในการควบคุมพฤติกรรม จากการทดลองสกินเนอร์ จึงได้เกิดเป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เขาเรียกว่า ทฤษฎีเงื่อนไขแบบอาการกระทำ (Operant Conditioning) พอสรุปได้ดังนี้ คือ "การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเร้าด้วยการเสริมแรง อัตราความเข้มแข็งของการตอบสนองจะมีโอกาสสูงขึ้น" อย่างไรก็ตาม การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนตัวเสริมแรงปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Primary and Secondary Reinforces) ดังนั้นพฤติกรรมในด้านการตอบสนองต่อตัวเสริมแรง จึงมีแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของการเสริมแรง

4) พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
ตลอดระยะเวลาประมาณ 2 ศตวรรษ นับแต่ปี ค.ศ.1960 เป็นต้นมา สื่อการศึกษาบางประเภท ได้ถูกนำมาใช้กับงานการศึกษามากขึ้น ผลจากการค้นคว้าทดลองของนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์บวกกับแนวความคิดของนักการศึกษา ก่อให้เกิดความก้าวหน้าใหม่ ๆ ทางเครื่องมือทางการศึกษาขึ้น เช่น ทางด้านการใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษามวลชน การใช้โทรศัพท์ในลักษณะวงจรปิดเพื่อเรียนเป็นกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีวีดิโอเทป ซึ่งกลุ่มผู้เรียนเป้าหมายแคบลง ๆ การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ มาพ่วงกับความคิดและการพัฒนาการสอนในลักษณะใหม่ เช่น การเรียนด้วย

ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัดนั้น นักวิชาการบางท่านถือว่าช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเนื่องจากการก่อกำเนิดของวิทยุโทรทัศน์ และยังได้มีการนำเสนอเอาทฤษฏีทางด้านสื่อสารมวลชนและทฤษฏีระบบเข้ามาใช้ในวงการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอีกด้วย ดังนั้น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 จึงมีการใช้คำว่า "การสื่อสารทางภาพและเสียง" หรือ "audio-visual communications" แทนคำว่า "การสอนทางภาพและเสียง"

ที่มาhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nayyo&month=28-06-2008&group=6&gblog=3

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
1 เทคโนโลยีการศึกษาเป็นทฤษฏีหนึ่งเกี่ยวกับการอธิบาย และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์
2 เทคโนโลยีการศึกษา เป็นสาขาวิชาการสาขาหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้กระบวนการอันละเอียด ซับซ้อนมีบูรณาการเพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์
3 เทคโนโลยีการศึกษา เป็นวิชาชีพขั้นสูงสาขาหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยความพยายามที่เป็นระบบ เพื่อปรับใช้ทฤษฎี เทคนิคเชิงปัญญา และการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการของเทคโนโลยีการศึกษา

ที่มา http://netnapa-aon9.blogspot.com/2007/11/1.html


สรุปสาระและคิดจากการชมภาพยนต์
1.เป็นบุคคลที่น่ายกย่องในเรื่อง ความทุ่มเท และเสียสละในการทำงานเพื่อการศึกษา โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัว
2.เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนต่อสังคม และเป็นแนวทางให้ผู้อื่นนำไปปฏิบัติตาม
3.มีความรับผิดชอบในหน้าการงาน และต่อสังคม
4.มีส่วนร่วมในการเข้าไปพัฒนาชุมชน และเป็นตัวเชื่อมให้เกิดความรักความสามัคคีของผู้คนในชุมชน
5.มีความมุ่งมันที่จะทำให้นักเรียนได้รับการเรียนการสอนที่ดี และพัฒนาความรู้ความสามารถ

ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
ความรู้สึกที่ได้ทำกิจกรรมดูภาพยนต์เรื่องครูบ้านนอก ทำให้รู้สึกถึงความรักและความเสียสละของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นครู ต่อวิชาชีพและเหล่าลูกศิษย์ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนร่วม มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 1 เปิดโลกหลักทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการค้นคว้าIT

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน 2553

1.) ความคาดหวังจาก การมาศึกษาต่อสาขาเทคโนโลยีการศึกษา

1.1 รู้จักการเรียนของเทคโนโลยีมากขึ้น
1.2 สามารถใช้เทคโนโลยีได้หลากหลายรูปแบบ
1.3 ได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆของเทคโนโลยี
1.4 ได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.5 ได้เรียนรู้ผ่านสื่อมากมาย
1.6 ได้เรียนรู้การพัฒนาของเทคโนโลยีทางการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.7 สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาใหม่ๆ ในอนาคต
1.8 ได้รู้ถึงองค์ประกอบของเทคโนโลยีเกี่ยวกับการศึกษา
1.9 ได้รู้จักกลไกและรูปแบบต่างๆของสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาในปัจจุบัน
1.10 ได้รู้ถึงจุดเด่น และจุดด้อยของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อที่จะสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขเทคโนโลยีทางการศึกษาต่างๆให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต
1.11ได้รู้ว่าระบบการศึกษาไทยมีการใช้เทคโนโลยีไปใช้เพื่อการเรียนการสอน และระบบการทำงานในรูปแบบใดบ้าง


2.) รู้จักอะไรที่ได้เข้าสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา

2.1 การใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการสืบค้น
2.2 มารยาทในการใช้ห้องสมุดที่ถูกต้อง

2.3 การใช้ Weblink ต่างๆ
2.4 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในสำนักหอสมุด
2.5 การจัดระบบหนังสือของสำนักหอสมุด

หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา

ที่มาของรูปภาพ:http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=bpschool&id=994

ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้

จากการที่ได้เข้าไปเรียนในสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้รู้สึกว่าสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งที่สามารถศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆได้และยังได้รู้ถึงระบบของสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัย